TIFFA ร่วมเปิดตัวโครงการ HIVE และลงนาม MOU เพื่อเข้าร่วมกับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ภายในงาน FIATA World Congress 2017
Nov 01, 2017
,
by
TIFFA จับมือกับ GeTS (Global eTrade Services) บริษัทในเครือของ CrimsonLogic Pte Ltd. ผู้ให้บริการจัดหาโซลูชั่นที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเป็น Gateway เดียวในประเทศสิงคโปร์ เปิดตัวโครงการ “ HIVE “ พร้อมลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2560 ในงาน FIATA World Congress 2017 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โครงการดังกล่าวได้รับการตอบรับและสนับสนุนอย่างดีจากสมาคมต่างๆ อาทิ ASEAN Federation of Forwarders Associations (AFFA) Federation of Malaysia Freight Forwarder (FMFF) และสมาคมผู้จัดส่งสินค้าทางเรือแห่งไต้หวัน (TFLA) รวมถึงสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (TIFFA) ตัวแทนของประเทศไทยที่ได้เป็นหนึ่งในสมาชิกผู้บุกเบิกในโครงการนี้
จุดเด่นของ “HIVE” คือ ระบบที่เชื่อมโยงไปยังกรมศุลกากร 50 ประเทศทั่วโลกภายใต้แพลตฟอร์มเดียวกันและส่งข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ไปยังผู้ใช้งาน ซึ่งชุดบริการที่ครอบคลุมของ GeTS จะช่วยให้ตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าทั่วโลกรวมถึงในอาเซียนสามารถจะปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานรัฐบาลและสมาคมการค้าต่างๆได้
รูปแบบการทำงานของ “HIVE” คือ การสร้างถังเก็บข้อมูลให้ Logistics Service Provider (LSP) เข้ามาดึงและส่งข้อมูลไปที่กรมศุลกากรได้โดยตรง รวมถึงการบริหารจัดการข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า ส่งออกระหว่าง B to B, B to G และระหว่าง LSP กับ หน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะกรมศุลกากร นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างระบบเครือข่ายในการเชื่อมโยงข้อมูลการทำการค้าข้ามพรมแดน (cross-border exchange) ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ความเร็วสูง (hive-highly interconnected & interconnected & vibrant e-trade) เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน จึงทำให้ประหยัดทั้งเวลาและต้นทุน
GeTS มี 3 บริการหลัก ได้แก่
1. Cross Border Data Exchange (CBDE) คือ ระบบเครือข่ายในการเชื่อมโยงระบบข้อมูลการค้าข้ามพรมแดนภายในอาเซียน
2. Partner Discovery เป็นบริการที่เปรียบเสมือน Data Center ของกลุ่มสมาคมต่างๆในอาเซียนที่นำมารวมกันไว้ในที่เดียว เพื่อใช้สำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและสำหรับหาคู่ค้าทางธุรกิจ อีกทั้งเพื่อเป็นการขยายโอกาสทางธุรกิจข้อมูลในด้านโลจิสติกส์
3. Trade Compliance คือ บริการแพลตฟอร์มที่ใช้สำหรับส่งข้อมูลระดับสากลในรูปแบบอิเลคทรอนิกส์ทั้งทางเรือและทางอากาศ
อนุสรณ์ หล่อวิจิตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทิฟฟ่า อีดีไอ เซอร์วิสเซส จำกัด (TIFFA EDI SERVICE) กล่าวว่า “ประโยชน์และความสำคัญที่รับจากโครงการนี้สอดคล้องกับความตั้งใจและนโยบายที่TIFFA จะดำเนินการต่อไปในอนาคตและเป็นเหตุผลสำคัญที่ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ เนื่องจากหวังว่าจะได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันเรื่องการพัฒนาระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวเพื่อเชื่อมโยงระบบข้อมูลแบบบูรณการระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ผู้นำเข้า-ส่งออก และ LSP ในประเทศสมาชิกอาเซียน”
จุดเด่นของ “HIVE” คือ ระบบที่เชื่อมโยงไปยังกรมศุลกากร 50 ประเทศทั่วโลกภายใต้แพลตฟอร์มเดียวกันและส่งข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ไปยังผู้ใช้งาน ซึ่งชุดบริการที่ครอบคลุมของ GeTS จะช่วยให้ตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าทั่วโลกรวมถึงในอาเซียนสามารถจะปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานรัฐบาลและสมาคมการค้าต่างๆได้
รูปแบบการทำงานของ “HIVE” คือ การสร้างถังเก็บข้อมูลให้ Logistics Service Provider (LSP) เข้ามาดึงและส่งข้อมูลไปที่กรมศุลกากรได้โดยตรง รวมถึงการบริหารจัดการข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า ส่งออกระหว่าง B to B, B to G และระหว่าง LSP กับ หน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะกรมศุลกากร นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างระบบเครือข่ายในการเชื่อมโยงข้อมูลการทำการค้าข้ามพรมแดน (cross-border exchange) ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ความเร็วสูง (hive-highly interconnected & interconnected & vibrant e-trade) เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน จึงทำให้ประหยัดทั้งเวลาและต้นทุน
GeTS มี 3 บริการหลัก ได้แก่
1. Cross Border Data Exchange (CBDE) คือ ระบบเครือข่ายในการเชื่อมโยงระบบข้อมูลการค้าข้ามพรมแดนภายในอาเซียน
2. Partner Discovery เป็นบริการที่เปรียบเสมือน Data Center ของกลุ่มสมาคมต่างๆในอาเซียนที่นำมารวมกันไว้ในที่เดียว เพื่อใช้สำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและสำหรับหาคู่ค้าทางธุรกิจ อีกทั้งเพื่อเป็นการขยายโอกาสทางธุรกิจข้อมูลในด้านโลจิสติกส์
3. Trade Compliance คือ บริการแพลตฟอร์มที่ใช้สำหรับส่งข้อมูลระดับสากลในรูปแบบอิเลคทรอนิกส์ทั้งทางเรือและทางอากาศ
อนุสรณ์ หล่อวิจิตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทิฟฟ่า อีดีไอ เซอร์วิสเซส จำกัด (TIFFA EDI SERVICE) กล่าวว่า “ประโยชน์และความสำคัญที่รับจากโครงการนี้สอดคล้องกับความตั้งใจและนโยบายที่TIFFA จะดำเนินการต่อไปในอนาคตและเป็นเหตุผลสำคัญที่ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ เนื่องจากหวังว่าจะได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันเรื่องการพัฒนาระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวเพื่อเชื่อมโยงระบบข้อมูลแบบบูรณการระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ผู้นำเข้า-ส่งออก และ LSP ในประเทศสมาชิกอาเซียน”